Purple Angel Wing Heart

Sport psychology(จิตวิทยาการกีฬา)

Sport psychology

    การที่นักกีฬาจะประสบความสำเร็จสูงสุด ต้องประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ คือ สมรรถภาพทางกาย (Physical Fitness) สมรรถภาพทางจิต (Psychological Fitness) และทักษะกีฬา (Sport Skills) สมรรถภาพทางกายและทักษะกีฬาสามารถฝึกและพัฒนาไปได้สูงสุด และมีการแปรเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ต่าง ๆ ได้น้อยมาก ตรงกันข้ามกับสมรรถภาพทางจิตที่สามารถแปรเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ได้มากกว่า

LESSON 9 จิตวิทยาการกีฬา (sportscienceforhealth.blogspot.com)

    ปัญหาที่มักเกิดขึ้นกับนักกีฬาส่วนใหญ่ คือ ฝึกซ้อมด้านร่างกายและทักษะกีฬามาอย่างดี แต่เมื่อถึงวันแข่งขันกลับไม่ประสบความสำเร็จดังที่ตั้งใจไว้ ดังนั้นการเตรียมพร้อมด้านจิตใจจึงควรเริ่มตั้งแต่การเข้าสู่การเล่นกีฬาในระดับเยาวชนและค่อย ๆ พัฒนาฝึกฝนจนกระทั่งเข้าสู่การแข่งขันในระดับสูงขึ้น เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และนำไปปฏิบัติได้อย่างอัตโนมัติ จิตวิทยาการกีฬาไม่เพียงแต่จะช่วยให้นักกีฬาประสบความสำเร็จทางการกีฬาเท่านั้น แต่ยังช่วยพัฒนาด้านคุณธรรม จริยธรรม และความมีน้ำใจนักกีฬาควบคู่ไปด้วย

    นักกีฬาที่มีสมรรถภาพทางจิตดี หมายถึง การที่นักกีฬามีความมุ่งมั่นตั้งใจ มีความทุ่มเท ยอมรับในความสามารถตนแองและผู้อื่น ควบคุมสติของตนเองได้ มีจิตใจเข้มแข็ง ไม่วิตกกังวลจนเกินกว่าเหตุ สามารถตัดสินใจและแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ อยู่ร่วมกับสังคมได้อย่างมีความสุข หากจำเป็นต้องเผชิญหน้ากับเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ระหว่างการเล่นหรือแข่งขันกีฬา สามารถเลือกใช้ทักษะจิตใจที่ถูกต้องมาบำบัดหรือขจัดพฤติกรรมไม่พึงประสงค์นั้นให้หมดไปหรือลดลงได้

จิตวิทยาการกีฬา คืออะไร ?

    จิตวิทยาการกีฬา คือการศึกษาว่าจิตวิทยามีผลต่อกีฬาการออกกำลังกายการออกกำลังกายและการออกกำลังกายอย่างไร นักจิตวิทยาบางคนทำงานร่วมกับนักกีฬามืออาชีพและโค้ชเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพและเพิ่มแรงจูงใจ ผู้เชี่ยวชาญด้านอื่น ๆ ใช้การออกกำลังกายและกีฬาเพื่อเพิ่มชีวิตและความเป็นอยู่ของผู้คนตลอดอายุการใช้งานทั้งหมด 
    นักจิตวิทยามืออาชีพมักช่วยนักกีฬารับมือกับความกดดันที่เกิดขึ้นจากการแข่งขันและเอาชนะปัญหาที่เกิดขึ้นจากการโฟกัสและแรงจูงใจ พวกเขายังทำงานร่วมกับนักกีฬาเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพและการกู้คืนจากการบาดเจ็บ แต่นักจิตวิทยาการกีฬาไม่เพียงแค่ทำงานร่วมกับนักกีฬายอดเยี่ยมและนักกีฬามืออาชีพเท่านั้น นอกจากนี้ยังช่วยให้ผู้คนทั่วไปได้เรียนรู้วิธีเพลิดเพลินไปกับกีฬาและเรียนรู้ที่จะฝึกฝนโปรแกรมการออกกำลังกาย

ประวัติจิตวิทยาการกีฬา

    จิตวิทยาการกีฬาเป็นระเบียบวินัยที่ค่อนข้างซับซ้อนภายในจิตวิทยา ในปี ค.ศ. 1920 คาร์ลไดเดียก่อตั้งห้องปฏิบัติการจิตวิทยาการกีฬาแห่งแรกของโลกที่ Deutsche Sporthochschule ในกรุงเบอร์ลินประเทศเยอรมนี ในปีพ. ศ. 2468 ได้มีการจัดตั้งห้องปฏิบัติการจิตวิทยาเกี่ยวกับกีฬาขึ้นอีก 2 แห่งโดยสถาบัน AZI Puni แห่งสถาบันวัฒนธรรมทางกายภาพในเมืองเลนินกราดและอีกแห่งหนึ่งโดยโคลแมนกริฟฟิ ธ จากมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ 
    Griffith เริ่มเสนอหลักสูตรจิตวิทยาการกีฬาครั้งแรกในปีพ. ศ. 2466 และได้เผยแพร่หนังสือเล่มแรกในหัวข้อ "จิตวิทยาการฝึก" (1926) 
แต่น่าเสียดายที่ห้องทดลองของกริฟฟิธ ถูกปิดในปีพ. ศ. 2475 เนื่องจากขาดเงินทุน หลังจากที่ห้องทดลองปิดลงมีการค้นคว้าเกี่ยวกับจิตวิทยาการกีฬาน้อยมากจนกระทั่งเรื่องที่ได้รับการฟื้นตัวของผลประโยชน์ในช่วงทศวรรษที่ 1960 
    Ferruccio Antonelli จัดตั้งสมาคมจิตวิทยาการกีฬาระหว่างประเทศ (ISSP) ในปีพ. ศ. 2508 และในปีพ. ศ. 2519 จิตวิทยาการกีฬาได้รับการแนะนำให้รู้จักกับการเสนอหลักสูตรของมหาวิทยาลัยทั่วอเมริกาเหนือ 
    วารสารวิชาการฉบับแรก ของวารสารจิตวิทยาการกีฬานานาชาติ ได้รับการแนะนำในปีพ. ศ. 2513 ซึ่งตามมาด้วยการจัดทำ วารสารจิตวิทยาการกีฬา ในปี 2522 
    ในช่วงทศวรรษที่ 1980 จิตวิทยาการกีฬากลายเป็นเรื่องที่มุ่งเน้นทางวิทยาศาสตร์อย่างเข้มงวดมากขึ้นเนื่องจากนักวิจัยเริ่มสำรวจว่าจิตวิทยาสามารถนำมาใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพกีฬาได้อย่างไรรวมทั้งวิธีการออกกำลังกายที่สามารถนำมาใช้ในการปรับปรุงภาวะความเป็นอยู่และลดระดับความเครียดได้

วัตถุประสงค์ของการศึกษาจิตวิทยาการกีฬา

    องค์ประกอบด้านจิตใจเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึกนึกคิดและอารมณ์ ซึ่งจะมีผลสืบเนื่องไปยังพฤติกรรม มีหลายปัจจัยที่ทำให้ภาวะจิตใจของนักกีฬาเกิดความไม่มั่นคงและบ่อยครั้งจะพบว่านักกีฬาที่ไม่ได้มีการฝึกฝนด้านจิตใจมาอย่างดีพอ จึงมักไม่ประสบความสำเร็จในการแข่งขัน ทั้งที่นักกีฬามีสมรรถภาพทางกายสมบูรณ์และมีทักษะกีฬาที่ดี ดังนั้นการศึกษาจิตวิทยาการกีฬาจึงมีวัตถุประสงค์หลัก ดังนี้ 

    1. เพื่อศึกษาผลของภาวะจิตใจและอารมณ์ที่มีต่อความสามารถทางการกีฬา 

    2. เพื่อศึกษาผลของการเข้าร่วมกิจกรรมกีฬาที่มีต่อภาวะจิตใจและอารมณ์ 

    3. เพื่อควบคุมพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ต่อการเล่นกีฬา


ประโยชน์ของจิตวิทยาการกีฬาสำหรับนักกีฬา 

    1. ทำให้นักกีฬาสามารถเรียนรู้และรู้จักจิตใจตนเองอย่างแท้จริง 

    2. ทำให้นักกีฬาสามารถควบคุมอารมณ์และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมกับสถานการณ์ 

    3. ทำให้นักกีฬาสามารถฝึกซ้อมและแข่งขันกีฬา รวมถึงอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข


ผลที่จะเกิดขึ้นหากนักกีฬาได้รับการฝึกด้านจิตใจ 

    1. มีความสุขกับการฝึกซ้อมและการแข่งขัน 

    2. มีสมาธิจดจ่อกับสิ่งที่ปฏิบัติและสามารถขจัดสิ่งที่เข้ามารบกวนจิตใจได้ 

    3. สามารถจัดการกับข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากสถานการณ์ที่มีความกดดันได้

    4. มีแรงจูงใจในระดับเหมาะสมและส่งดีต่อความสามารถทางการกีฬา 

    5. การพัฒนาทักษะการสื่อสารทั้งกับตนเองและผู้อื่นได้อย่างถูกต้อง 

    6. การพัฒนาความคิดและความเชื่อของตนเองในสิ่งที่เป็นเหตุเป็นผล 

    7. การพัฒนาความเชื่อมั่นในตนเองภายหลังได้รับการบาดเจ็บ 

    8. การเกิดความสามัคคีภายในทีม


บทบาทของนักจิตวิทยาการกีฬา

    กลุ่มที่ 1 นักจิตวิทยาการกีฬาที่ทำหน้าที่ให้ความรู้ มีหน้าที่ในการให้การศึกษาจึงจำเป็นต้องมีความรู้ความสามารถเชิงวิทยาการ จบการศึกษาจากหลักสูตรที่มีความเฉพาะเจาะจงในสาขาวิชาจิตวิทยาการกีฬา มีความรู้เฉพาะทางขั้นสูงและทำหน้าที่เผยแพร่ความรู้ที่ถูกต้องแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพและความสามารถของนักกีฬา นอกจากนั้นยังช่วยให้นักกีฬามีความสนุกสนานอยู่กับการเล่นกีฬาได้อย่างยาวนานและมีความสุข และใช้กีฬาเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป 

    กลุ่มที่ 2 นักจิตวิทยาการกีฬาที่ทำหน้าที่นักวิจัย มีหน้าที่ในการศึกษาวิจัย แสวงหาองค์ความรู้ใหม่ ๆ ที่เกี่ยวข้องกับจิตวิทยาการกีฬา เพื่อนำมาพัฒนาขีดความสามารถของนักกีฬาให้สูงขึ้น 

    กลุ่มที่ 3 นักจิตวิทยาการกีฬาที่ทำหน้าที่ผู้ให้คำปรึกษา มีหน้าที่ในการให้คำปรึกษากับนักกีฬาหรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับกีฬา ซึ่งผู้ให้คำปรึกษาด้านจิตวิทยาการกีฬาต้องมีความรู้ความสามารถเฉพาะทางในกระบวนการให้คำปรึกษาและการเป็นผู้นำด้านการฝึกทักษะจิตใจ ในปัจจุบันมีจำนวนผู้ที่สำเร็จการศึกษาทั้งระดับปริญญาโทและปริญญาเอก ในสาขาวิชาจิตวิทยาการกีฬามากขึ้น ซึ่งบุคคลเหล่านี้ทำหน้าที่ทั้งเป็นผู้ให้ความรู้ในสถาบันการศึกษา นักวิจัยในหน่วยงานภาครัฐ และผู้ให้คำปรึกษากับนักกีฬา


หลักการทางจิตวิทยาการกีฬา (Principles of Sport Psychology)


    1. สมาธิ ความตั้งใจ (Concentration) การมีจิตใจจดจ่อกับสิ่งที่กระทำ เช่น นักฟุตบอลควรมีสมาธิอยู่กับลูกบอล ผู้เล่นในสนาม และสถานการณ์ขณะนั้น นักกีฬาทีได้รับความกดดันจากความคาดหวังที่จะเล่นได้ดี การเฝ้าติดตามคะแนนของตนเองและคู่ต่อสู้ การวิเคราะห์การเล่นของทีมฝ่ายตรงข้ามและระมัดระวังการเล่นของตนเอง ส่วนมากผู้ฝึกสอนจะควบคุมสมาธิของนักกีฬา โดยการให้หานใจลึกๆ หรือหลับตานิ่งๆ สักครู่ ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาเบื้องต้น แต่อีกวิธีหนึ่งคือ การคิดดีกับตนเอง การสร้างความเชื่อมั่น ความกล้าที่จะนำเทคนิควิธีการที่ได้ฝึกซ้อมมาใช้ในการเล่นครั้งต่อไปมากกว่าที่จะพยายามปรับเทคนิคทันทีทันใด ยิ่งทำให้เสียสมาธิมากขึ้น

อุปสรรคหรือสิ่งที่มีอิทธิพลต่อสมาธิของนักกีฬา 

- การเล่นที่ผิดพลาด 

- ความเครียดและความวิตกกังวล 

- คู่ต่อสู้ ฝ่ายตรงข้าม 

- ผู้ตัดสิน 

- ผู้ชม 

- ความเหนื่อยล้า 

- สภาพร่างกาย 

- สภาพอากาศ 

- ผู้ฝึกสอนกดดันนักกีฬาขณะแข่งขัน

แนวทางการเสริมสร้างสมาธิให้กับนักกีฬา

- กำหนดเป้าหมายในการเล่น ใช้คำพูดหรือท่าทางที่สอดคล้องกระตุ้นนักกีฬา

- การบันทึกเตือนความจำ เช่น ให้นักกีฬาจดบันทึกประจำวัน เพื่อกระตุ้นเตือนความจำและเป็นการระบายอารมณ์ได้อีกวิธีหนึ่ง

- การฝึกปฏิบัติในสิ่งที่ถูกเป็นประจำ เพื่อสามารถปฏิบัติได้รวดเร็วและแม่นยำขึ้น ลดเวลาในการคิดสิ่งอื่น ทำให้สมาธิดีขึ้น

- จินตภาพ นึกถึงเรื่องที่ฝึกซ้อมเพื่อกระตุ้นเตือนความจำ  

The 12 Benefits of Increasing Your Self-Confidence (tcnorth.com)

    2.ความมั่นใจในตนเอง (Self-Confidence) เป็นปัจจัยทางจิตวิทยาที่มีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะทำให้นักกีฬากล้าตัดสินใจ ตัดสินใจได้รวดเร็วและถูกต้องตลอดจนผลที่เกิดขึ้น แม้ว่าจะดีหรือไม่ดีอย่างที่คาดหวัง นักกีฬาต้องเชื่อมั่นว่าตนเองสามารถที่จะแก้ปัญหาหรืออุปสรรคได้มั่นใจในความสามารถของตนเอง สิ่งที่ชัดเจนที่เกี่ยวกับการเล่น คือ ความสัมพันธ์ระหว่างความมั่นใจในการเล่นกับผลการเล่น ทำให้นักกีฬาอยู่ในความรู้สึกที่เป็นบวกและควบคุมได้ แสดงความสามารถออกมาอย่างเต็มที่ ผู้ฝึกสอนสามารถสำรวจความมั่นใจของนักกีฬาโดยการสังเกตจากสีหน้า ความพยายาม ปฏิกิริยาต่าง ๆ 

เทคนิคในการสร้างความมั่นใจให้กับนักกีฬา

- เทคนิคการกำหนดเป้าหมาย การกำหนกเป้าหมายต้องส่งผลต่อแรงจูงใจและสภาวะในทางบวกของจิตใจนักกีฬา

- เทคนิคการจินตภาพ ผู้ฝึกสอนที่ต้องการให้นักกีฬาได้เรียนรู้ทักษะต่าง ๆ ที่สอนไปในสนาม มีความมั่นใจในการแข่งขันมากขึ้น การทบทวนสิ่งเหล่านั้นในใจขณะที่ไม่ได้ฝึกซ้อมหรือแข่งขันจะทำให้นักกีฬามีความพร้อม มีความมั่นใจ ความเครียดน้อยลง และทำให้ควบคุมอารมณ์ได้ดีด้วย

Emotional Control at Home: Strategies for ADHD Flooding (additudemag.com)

    3.ทักษะทางจิตในการควบคุมตนเอง (Emotional Control) ให้กระทำหรือมีพฤติกรรมที่เหมาะสม เป็นความสามารถทางจิตที่มีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับนักกีฬาทุกคน นักกีฬาที่ดีควรสามารถควบคุมความคิดและอารมณ์ได้ ปัญหาหลักที่สำคัญที่นักกีฬาต้องทำความเข้าใจ คือ การพยายามควบคุมสิ่งควบคุมไม่ได้ จะยิ่งทำให้เกิดความสับสน เช่น เราไม่สามรถควบคุมการเล่นของฝ่ายตรงข้ามหรือการตัดสินของผู้ตัดสินได้ แต่สิ่งที่ควบคุมได้คือตัวเอง ผู้ฝึกสอนและนักกีฬาต้องร่วมมือกันในการจัดสถานการณ์และการฝึกที่สร้างประสบการณ์ในการควบคุมตัวเองของตนเอง เปลี่ยนอารมณ์จากด้านลบเป็นด้านบวกได้ 

สาเหตุของอารมณ์ที่ไม่เหมาะสมของนักกีฬา

- ความผิดพลาดในการตัดสินของผู้ตัดสิน

- การเล่นผิดพลาดของตนเองและเพื่อนร่วมทีม

- การปะทะกันระหว่างการแข่งขัน

- ความเครียด / กดดัน / วิตกกังวล

Are You Committed? – The SPUD (ahsthespud.com)

    4.ความมุ่งมั่น ทุ่มเทในการฝึกซ้อม (Commitment) เพื่อพัฒนาระดับความสามารถและการนำความสามารถที่มีไปใช้ในการแข่งขัน ความมุ่งมั่นนำไปสู่ความพยายามที่มากกว่า การคิดหาหนทางและยังอดทนอดกลั้นเพื่อฟันฝ่าแม้มีอุปสรรค มีความกดดันทุกสภาวะที่เป็นลบ ไม่เป็นอย่างที่คาดหวังทั้งในขณะฝึกซ้อมและแข่งขัน ผู้ฝึกสอนมีหน้าที่สร้างสรรค์วิธีการฝึกและจุดมุ่งหมายที่นักกีฬาทำได้ การฝึกที่มีความหลากหลาย การสร้างสถานการณ์ที่มีความท้าทายให้นักกีฬาทุ่มเทเพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายนั้น ๆ

สาเหตุที่ทำให้นักกีฬาไม่อยากมาซ้อมหรือแข่งขัน

- สังคมรอบตัวของนักกีฬา เช่น งาน การเรียน ครอบครัว เพื่อนฝูง ฯลฯ

- ไม่มีพัฒนาการ / เล่นไม่ดีขึ้น

- ไม่มีส่วนรับทราบในการวางแผนการฝึก การมีส่วนร่วมช่วยกระตุ้นนักกีฬาได้อีกวิธีหนึ่ง

- ไม่เห็นความสำคัญในการฝึกซ้อม

- ขาดความสนุกและความสนใจในการเล่นกีฬาชนิดนั้น ๆ

- ความเครียดจากการแข่งขัน

- ปัญหาการบาดเจ็บ

- ขาดเป้าหมายในการเล่นที่ตื่นเต้น ท้าทาย

- มีความรู้สึกไม่ดีกับผู้ฝึกสอน หรือ เพื่อนร่วมทีม 

        วิธีการสร้างความมุ่งมั่นให้กับนักกีฬา คือ การสนับสนุนทางสังคม (ครอบครัว เพื่อน ทีมงาน ผู้ฝึกสอน ฯลฯ) และการกำหนดเป้าหมาย การตั้งจุดมุ่งหมายมีความสำคัญอย่างมาก เป็นการกำหนดกรอบแนวปฏิบัติและวิธีการเล่น ช่วยสร้างความพยายาม ความมุ่งมั่น สร้างเสริมกำลังใจและลดความวิตกกังวล ซึ่งในที่นี้จะขอยกตัวอย่างการกำหนดเป้าหมายโดยใช้หลัก SMARTER 

S : Specific                   เป้าหมายมีความชัดเจน เฉพาะเจาะจง 

M : Measurable             สามารถวัดและประเมิณผลได้ 

A : Accountability          มีเหตุผลและสามารถอธิบายได้ 

R : Realistic                  อยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง สามารถปฏิบัติได้จริง 

T : Time                       การกำหนดระยะเวลา 

E : Exciting                  มีความท้าทาย 

R : Recorded               สามารถบันทึกและตรวจสอบได้

 

ทักษะทางจิตวิทยาการกีฬา (Mental Skills)

    การฝึกทางจิตวิทยาการกีฬาพื้นฐานเพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้นักกีฬาในทีมมีหลายอย่างโดยแต่ละอย่างก่อให้เกิดทักษะเพื่อความแข็งแกร่งของจิตใจที่แตกต่างกัน 

    นฤพนธ์ วงศ์จตุรภัทร (2551 อ้างถึงใน กรมพลศึกษา, 2556) ได้เสนอแนวทางการสร้างและรักษาระดับความเข้มแข็งทางจิตใจ และความมั่นคงทางจิตใจให้เกิดขึ้นและคงที่ตลอดไป ดังนี้ 

- นักกีฬาต้องฝึกเทคนิคและฟอร์มการเล่นให้เกิดความชำนาญ หากเทคนิคหรือฟอร์มการเล่นไม่ดี ไม่ถูกต้อง แม้จิตใจจะแข็งแกร่งเพียงใด โอกาสที่จะถึงจุดสูงสุดของการเล่นคงยาก ความไม่แน่นอนจะเกิดขึ้นตามมา 

- นักกีฬาต้องมีทักษะทางจิตที่ดี คนที่เล่นกีฬาได้ดีอย่างเสมอต้นเสมอปลายไม่ว่าจะสถานการณ์ใดก็ตามเพราะการมีจิตใจที่มั่นคง การเล่นที่ดีบ้างไม่ดีบ้าง มักมีสาเหตุจากความไม่แน่นอนขึ้น ๆ ลง ๆ ของจิตใจ 

    โดยสรุป ความเข้มแข็งทางจิตใจเป็นสิ่งที่เรียนรู้ได้ไม่ได้มีมาตั้งแต่เกิดหรือถ่ายทอดทางพันธุกรรม ทั้งนักกีฬาและผู้ฝึกสอนสามารถสร้างให้เกิดขึ้นได้ ดังนั้นจึงควรตระหนักและเข้าใจถึงการเพิ่มพูนความเข้มแข็งทางจิตใจว่าสามารถทำให้เกิดได้ด้วยตัวของเราเอง เช่นเดียวกับความเข้มแข็งด้านร่างกายและทักษะกีฬา เพียงแต่ต้องรู้วิธีการสร้างความเข้มแข็งทางจิตใจและฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอเท่านั้น 


การฝึกทักษะทางจิตวิทยาการกีฬา


IMAGERY: Synonyms and Related Words. What is Another Word for IMAGERY? - GrammarTOP.com

    การจินตภาพ (Imagery) คือ การนึกภาพเหตุการณ์ที่ผ่านมา (Recreate) หรือการสร้างภาพใหม่ (Create) ให้เกิดในใจโดยผ่านระบบประสาททั้ง 6 ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น สัมผัส (กาย) และความรู้สึก (ใจ) แล้วนำไปสู้กระบวนการเห็นเป็นภาพ (visual) ได้ยิน (Auditory) ได้กลิ่น (Olfactory) รู้รส (Taste) รู้สึกกับการสัมผัส (Tactile) และรู้สึกถึงการเคลื่อนไหว (kinesthetic) ในมโนทัศน์หรือในจอใจของแต่ละคน เทคนิคการจินตภาพช่วยให้นักกีฬาได้เรียนรู้ทักษะต่างๆ ที่ได้สอนไปในสนามการทบทวนสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้นในใจขณะที่ไม่ได้ฝึกซ้อม นอกฤดูกาลแข่งขัน หรือแม้แต่ขณะอยู่ในการแข่งขัน ช่วยให้นักกีฬามีความพร้อม ความมั่นใจ ความมั่นใจ ความเครียดน้อยลง ควบคุมอารมณ์ได้ดี และยังเหมาะอย่างยิ่งกับนักกีฬาที่ไม่สามารถฝึกซ้อมจริงในสนามได้ ไม่ว่าจะเกิดจากสภาพร่างกายได้รับบาดเจ็บหรือไม่มีสนามฝึกซ้อมการฝึกซ้อมในใจจะช่วยให้นักกีฬาไม่ร้างเลือนการฝึกซ้อม เพราะร่างกายจะเกิดความคุ้นเคยกับการรับรู้ความรู้สึกจากประสาทสัมผัสต่อปฏิกิริยาตอบสนองต่อการเคลื่อนไหวอวัยวะต่าง ๆ ในวิถีทางที่คล้ายคลึงกับการฝึกซ้อมจริงในสนาม

Goal Setting (ghmission.com)

    การกำหนดเป้าหมาย (Goal Setting) การกำหนดเป้าหมายที่เหมาะสม ท้าทายและชัดเจนจะช่วยกระตุ้นให้นักกีฬาพัฒนาระดับความสามารถ ช่วยให้เกิดความมั่นใจ ทุ่มเท มุมานะ พยายามทำให้การฝึกไม่น่าเบื่อหน่าย การกำหนดเป้าหมายในการฝึกและเล่นกีฬานั้น ช่วยสร้างบรรยากาศของการฝึกร่วมกันเป็นทีม สร้างความเข้าใจระหว่างกัน ทุกคนมีเป้าหมายว่าจะเล่นเพื่อทีม จึงต้องฝึกและทำให้ดีขึ้น ถึงแม้บางครั้งจะเบื่อหรือขี้เกียจก็ตาม เมื่อต้องทำให้ตนเองบรรลุเป้าหมายจึงต้องทำงานร่วมกัน ทำให้เกิดความคิดที่เป็นผู้ใหญ่มากขึ้น มีกฎเกณฑ์กับตัวเองมากขึ้น  จึงทำให้มีโอกาสประสบความสำเร็จมากขึ้นด้วย ผู้ฝึกสอนกีฬาสามารถกำหนดเป้าหมายที่ช่วยเสริมสร้างแรงจูงใจและสภาวะทางบวกของจิตใจนักกีฬาในการฝึกซ้อมและแข่งขัน

How to self-talk your way to success and make the inner dialogue work (drroopleen.com)

    การพูดกับตนเอง (Self-Talk) การใช้ทักษะการพูดกับตนเองใช้ในการแก้ไขพฤติกรรมที่ผิด เพิ่มความเชื่อมั่น และช่วยพัฒนาความรู้สึกที่จะควบคุมสถานการณ์ต่าง ๆ ในระหว่างและหลังการแข่งขัน  โดยผู้ฝึกสอนจะต้องให้นึกถึงสถานการณ์ที่ผ่านมาและจินตนาการสถานการณ์เพื่อผ่าน ไปสู่กระบวนการภายในใจ ซึ่งการพูดกับตนเองควรจะออกมาในทางบวก ในสถานการณ์การเล่นนั้นอาจทำได้

Progressive muscle relaxation for beginners : MEDISANA Health Blog

    การผ่อนคลายกล้ามเนื้อ (Muscle Relaxation) เทคนิคการผ่อนคลายกล้ามเนื้อเกิดขึ้นเพราะภาวะความตึงเครียดเกร็งที่กล้ามเนื้อมากเกินไป ความตึงเครียดทางกายมีผลต่อสมรรถภาพทางกาย ทำให้สมรรถนะในการทำงานของกล้ามเนื้อสูญเสียไป และมีผลทางอ้อมต่อสมรรถภาพทางจิตด้วยเช่นกัน ทำให้เกิดความตึงเครียดทางอารมณ์และความวิตกกังงลตามมาจนเป็นผลเสียต่อความสามารถทางการกีฬา ในทางจิตวิทยาเรียกภาวะนี้ว่า ภาวะกายคุมจิต ดังนั้นเมื่อกายตึงเครียดทำให้จิตใจขุ่นมัว จึงจำเป็นต้องทำการผ่อนคลายร่างกายก่อนเพื่อจิตใจจะได้แจ่มใสสบายขึ้น ซึ่งวิธีที่จะปฏิบัติง่ายมากแต่ได้ผลดีเยี่ยม คือ การผ่อนคลายกล้ามเนื้อ วิธีนี้ไม่ได้เหมาะกับนักกีฬาเท่านั้น แต่เหมาะกับทุกคนที่มักประสบปัญหากล้ามเนื้อตึงและเกร็งบ่อย

THE MAGIC OF MOTIVATION | Tranziam

    แรงจูงใจ (Motivation) เป็นพลังผลักดันให้บุคคลมีพฤติกรรม ทิศทางและเป้าหมายของพฤติกรรม และยังเป็นตัวกำหนดทิศทางและเป้าหมายของพฤติกรรมนั้น ผู้ที่มีแรงจูงใจจะใช้ความพยายามในการกระทำเพื่อไปสู่เป้าหมายโดยไม่ลดละ  แต่ผู้ที่ไม่มีแรงจูงใจจะไม่แสดงความพยายามหรือเลิกกระทำก่อนบรรลุเป้าหมาย

    เทคนิคการจูงใจเพื่อการฝึกนักกีฬา การจูงใจเพื่อฝึกนักกีฬามีหลายวิธี ขึ้นอยู่กับผู้ฝึกสอนจะนำเอาเทคนิควิธีใดไปใช้วิธีต่าง ๆที่จะใช้ขึ้นอยู่กับจังหวะและโอกาสที่จะเลือกมาใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มระดับความสามารถสูงสุดให้นักกีฬาบรรลุเป้าหมาย ดังนี้ 

    1.การสรรเสริญชมเชย (Praise) การสรรเสริญชมเชยเป็นพลังพิเศษประการหนึ่งที่ช่วยให้นักกีฬาประสบความสำเร็จตามต้องการ ผู้ฝึกสอนจะต้องสังเกต สรรหาวิธีและโอกาสที่จะชมเชยนักกีฬา เช่น ชมเชยเมื่อผู้เล่นมีการพัฒนาที่ดีขึ้น พยายามเอาใจใส่ แก้ไขจุดอ่อนจุดด้อยของตนเอง ในขณะเดียวกันการเยินยอเกินควรก็อาจจะเป็นโทษทำให้ผลการฝึกลดลง หรือ เกิดปัญหาในการควบคุมพฤติกรรมของนักกีฬา เช่น เกิดความอิจฉาริษยา แบ่งพรรคแบ่งพวก เป็นต้น 

    2.การใช้กฎเกณฑ์และการลงโทษ (Treats and Punishment) กฎเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในการฝึกกีฬานับเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ในด้านการควบคุมและสร้างวินัยนักกีฬา เพื่อฝึกให้นักกีฬาเกิดการยอมรับและเกรงใจ นับถือเชื่อฟังผู้สอน จึงเป็นปัจจัยหนึ่งของการจูงใจ ผู้ฝึกสอนที่เอาจริงเอาจังมักจะใช้กฎเกณฑ์เป็นมาตรการในการฝึกและควบคุมนักกีฬา เช่น นักกีฬาที่มีทักษะด้อยกว่าผู้อื่นจะต้องเพิ่มการฝึกพิเศษเป็นรายบุคคล หรือฝึกเดี่ยวเฉพาะตัว ทั้งนี้ต้องพิจารณาถึงความเหมาะสมในการวางกฎเกณฑ์ที่ยืดหยุ่นได้ เนื่องจากอาจเป็นสาเหตุให้นักกีฬาเกิดการบาดเจ็บ ความเมื่อยล้าเกินไป อันเป็นเหตุให้เกิดความท้อแท้เบื่อหน่ายในที่สุด 

    3.การปลอบขวัญ (Diversion from Failure) ในการแข่งขันบางครั้ง นักกีฬาอาจจะพบกับความปราชัยหรือไม่ประสบความสำเร็จตามที่คาดหวังไว้ อาจทำให้เกิดความท้อแท้ สูญเสียกำลังใจ ก็อาจเป็นเหตุให้สมรรถภาพความสามารถของนักกีฬาลดลงและเกิดความเบื่อหน่าย ดังนั้นผู้ฝึกสอนจะหาวิธีแก้ไขปรับปรุงข้อผิดพลาดที่มีอยู่ ปรับแผนการเล่น เปลี่ยนตัวนักกีฬา สร้างขวัญและกำลังใจ หรือวางตัวผู้เล่นใหม่เป็นต้น หรืออาจจะจัดกิจกรรมพักผ่อนหย่อนใจ เพื่อปลอบขวัญนักกีฬาให้คลายเครียด โดยการจัดวันพักผ่อน ท่องเที่ยว หรือหยุดซ้อม เป็นกรณีพิเศษ 

    4. การใช้กลวิธี (Use of Gimmicks) การสร้างขวัญและกำลังใจในบางโอกาสเพื่อส่งเสริมความสำเร็จของนักกีฬาของทีม ผู้ฝึกสอนอาจจะกำหนดเงื่องไขพิเศษขึ้นอาจจะให้คำขวัญหรือสโลแกนสำหรับทีม เช่น “ฝันให้ไกลไปให้ถึง” หรือ “บอลนอกแค่สะใจ บอลไทยในสายเลือด” หรืออาจจะใช้สื่อด้านอื่น ๆ มาศึกษาวิเคราะห์เพื่อหาทางปรับปรุงแก้ไข เช่น ศึกษาแนวทางการเล่นของฝ่ายตรงข้าม ศึกษาตัวอย่างหรือวิธีการฝึกรูปแบบใหม่ที่มีความทันสมัย เป็นต้น 

    5. การใช้เสียง (Use of Voice) เสียของผู้ฝึกสอนคือพลังอย่างหนึ่งในการกระตุ้นนักกีฬาให้เกิดกำลังใจในการเล่น หรือเกิดการตื่นตัวเพื่อเอาชนะคู่ต่อสู้ หรือเกิดความพร้อมในการเล่น เช่น การเน้นหนักคำพูด การให้กำลังใจคนเฉพาะ คนการชี้แนะข้อบกพร่อง แนวทางการแก้ไขรายบุคคล การปลอบใจ ความหนักแน่นจริงใจในน้ำเสียง หรือความอ่อนโยนในการให้กำลังใจอย่างอบอุ่น เป็นส่วนหนึ่งซึ่งมีผลต่อการกระตุ้นและให้กำลังใจนักกีฬา อย่างไรก็ตาม การตะโกนด่าผู้ตัดสิน ด่าผู้เล่นในสนาม เป็นสิ่งที่ไม่ควรกระทำ เพราะเป็นการศร้างความปั่นป่วนในทีมได้ 

    6.การปรับปรุงทีมหรือแก้ปัญหารายบุคคล (Individual and Team Discussion) การชี้แนะข้อบกพร่องที่ควรแก้ไขโดยเพื่อนร่วมทีม การเปิดโอกาสให้ผู้เล่นทุกคนได้แสดงความคิดเห็นเพื่อแก้ปัญหา ชี้แจง หรือเสนอ แนะแนวความคิดเกี่ยวกับการเล่น จัดเป็นการสร้างความยอมรับและความสามัคคีกันในทีมได้ดี ขึ้นอยู่กับผู้ฝึกสอนที่จะใช้ความสามารถชี้แนะแนวทางสรุปผลที่เหมาะสม เพื่อการแก้ไขปรับปรุงจุดอ่อนต่าง ๆ ทั้งรายบุกคลและความสัมพันธ์ของทีม เมื่อได้ปรึกษาทำความเข้าใจกันแล้วนำแผนการปรับปรุงไปสู่การปฏิบัติก็จะเกิดพัฒนาความสำเร็จของทีมไปสู่จุดมุ่งหมายที่ต้องการ 

    7.การชี้นำพิเศษ (Pep Talk) ในช่วงเวลาก่อนการแข่งขัน ระหว่างการฝึกหรือขอเวลานอกและหลังการแข่งขันแต่ละครั้ง ถ้ามีการสรุปชี้แนะถึงข้อดีข้อเสียจากการแข่งขัน จุดอ่อนจุดแข็งของการเล่นทั้งทีมและเฉพาะบุคคล ข้อผิดพลาดต่าง ๆ ตลอดจนกลวิธีการแก้เกม การปรับแผนการเล่น การรุก การตั้งรับและปรับปรุงแก้ไข เป็นสิ่งที่ควรนำมาใช้ เพราะมีคุณค่าต่อการเพิ่มประสบการณ์ สร้างความเข้าใจ และพัฒนานักกีฬาให้ทำได้ดีขึ้น 

    การใช้แรงจูงใจกับนักกีฬา การสร้างแรงจูงใจให้เกิดขึ้นกับนักกีฬาเป็นสิ่งที่จำเป็นและสำคัญยิ่ง ดังนั้น นอกจากผู้ฝึกสอนจะต้องรู้จักวิธีการจูงใจในแบบต่าง ๆ ดังที่กล่าวมาแล้ว ผู้ฝึกสอนยังต้องมีวิธีการจูงใจอย่างเหมาะสมด้วย ซึ่งสรุปได้ 3 ลักษณะ คือ 

    1. การจูงใจด้วยคำพูด (Verbal Motivation) คำพูดหรือวาทะมีความสำคัญและสามารถจูงใจนักกีฬาได้สูง ต้องอาศัยการฝึกทักษะ รู้จักใช้จิตวิทยาในการพูด มีวิธีการโน้มน้าวผู้ฟัง พูดในสิ่งที่ควรพูด ชี้แนะ กระตุ้น เตือน หรือการใช้คำรุนแรงในบางครั้งย่อมจะก่อให้เกิดผลต่าง ๆ กัน จึงจำเป็นต่อผู้ฝึกสอนที่จะต้องรู้จักเลือกใช้วาทะที่เหมาะสมกับโอกาสต่าง ๆ 

    2. การจูงใจด้วยการกระทำ (Behavior Motivation) การใช้รูปแบบ วิธีการฝึกหรือแนวทางการฝึกต่าง ๆ เช่น แบบฝึกที่หนักกกว่าปกติ การฝึกสม่ำเสมอ การกำหนดระเบียบพิเศษ การบันทึกประจำวันของผู้ฝึกสอนและนักกีฬา เหล่านี้จัดเป็นวิธีการจูงใจด้วยการกระทำที่มีผลต่อนักกีฬาทั้งสิ้น 

    3. แบบผสมผสาน (Gimmicks) วิธีการจูงใจที่รวมทั้งการพูดและการกระทำเข้าด้วยกันเพื่อการฝึกซ้อมนักกีฬา ขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้ฝึกสอนในการเลือกใช้อย่างเหมาะสมกับนักกีฬาของตน 

3 Types of Psychological Stress Affecting Athletes In-season - Firstbeat Sports

    ความเครียดในนักกีฬา ความเครียด (Stress) คือ ปฏิกิริยาตามธรรมชาติของมนุษย์ที่เกิดขึ้นเมื่อต้องเผชิญกับปัญหาการเปลี่ยนแปลง หรือสถานการณ์ต่าง ๆ ซึ่งเป็นสาเหตุ ความเครียดที่เหมาะสมจะกระตุ้นให้เกิดการปรับตัวแก้ไขปัญหา เกิดการพัฒนาและสร้างสรรค์ แต่ความเครียดที่มากเกินไปจะเป็นผลเสียต่อร่างกายและจิตใจ เกิดความไม่สบายใจ กีฬามีคุณสมบัติเป็นสาเหตุของความเครียดอย่างหนึ่ง นักกีฬาก็มีโอกาสเกิดความเครียดได้ โดยเฉพาะกีฬาที่มีผู้ชมมาก ๆ หรือเป็นรายการแข่งขันที่มีชื่อเสียง เกียรติยศรางวัลสูง นักกีฬาที่ขาดประสบการณ์ เมื่อมีความเครียดอาจจะแสดงความสามารถได้ไม่เต็มที่ การรู้จักความเครียดในนักกีฬาจึงเป็นสิ่งสำคัญในการเตรียมนักกีฬาให้สามารถเผชิญความเครียดในขณะแข่งขัน และแสดงความสามารถของตนเองได้ดีที่สุด

    การปรับตัวของนักกีฬา นักกีฬาแต่ละคนมีวิธีการปรับตัวที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับพื้นฐานบุคลิกภาพ ถ้าไม่มีการฝึกในการเผชิญความเครียดอย่างถูกต้องนักกีฬาจะใช้วิธีการแก้ปัญหาแบบเดิมซึ่งอาจไม่ถูกต้องและเป็นผลเสียต่อสมรรถภาพของนักกีฬา เช่น บางคนใช้วิธีโหมซ้อมมากๆ (Over Training) โดยคิดว่าการฝึกซ้อมยิ่งหนักยิ่งดี แต่ความจริงแล้ว การฝึกซ้อมควรจะมีความพอดี การซ้อมหนักมากเกินไปร่างกายจะทรุดโทรม จิตใจตึงเครียด ทำให้ยิ่งซ้อมยิ่งแย่ลง นักกีฬาบางคนเวลาซ้อมเวลาซ้อมทำได้ดี แต่เวลาแข่งเกิดความเครียด ตื่นเต้นจนทำได้ต่ำกว่าความสามารถที่แท้จริง บางคนมีอาการของความเครียดออกมาทางร่างกาย ทำให้เหงื่อออกมากใจเต้นใจสั่น มือสั่น รบกวนการแข่งขัน บางคนหลบเลี่ยงการแข่งขัน บางคนยอมเสี่ยงมากเกินไปในการแข่งขันจนอาจเกิดอุบัติเหตุ


สรุป

    จิตวิทยาการกีฬา เป็นเรื่องของความสามารถทางด้านจิตใจที่มีต่อการเล่นกีฬาที่เกิดจากการฝึกจริงจังอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ เพื่อต้องการให้นำไปใช้ได้อย่างสม่ำเสมอและในที่สุดก็เกิดเป็นอัตโนมัติเช่นเดียวกับทักษะกีฬา องค์ประกอบของการมีทักษะทางจิตวิทยา ได้แก่ การควบคุม การหายใจ การควบคุมความตื่นเต้นให้อยู่ระดับที่เหมาะสมในสถานการณ์ที่กดดัน การมีสมาธิ และมุ่งมั่นกับการเล่น ความมั่นใจในตนเอง รวมทั้งการจัดการกับความเครียดได้อย่างเหมาะสม ซึ่งทักษะเหล่านี้สามารถทำให้เกิดขึ้นได้ผ่านกระบวนการฝึกทักษะทางจิตวิทยาการกีฬา 

    จิตวิทยาการกีฬามีความมีความสำคัญต่อการเล่นกีฬาเป็นอย่างมาก เพราะจิตใจ อารมณ์ ความรู้สึกต่าง ๆ มีผลต่อความสามารถทางกาย ความสามารถทางการกีฬาและการแสดงความสามารถสูงสุด ในการแข่งขัน นักกีฬาที่ต้องการประสบความสำเร็จ ต้องมีการสร้างเสริมสมรรถภาพทางจิตควบคู่กับสมรรถภาพทางกาย จิตวิทยาเป็นส่วนหนึ่งของความเป็นนักกีฬา และทุกคนควรนำไปใช้พัฒนาปรับปรุงพฤติกรรมการฝึกซ้อมและแข่งขัน เพื่อให้นักกีฬาแสดงความสามรถและทักษะการกีฬาได้อย่างสอดคล้องสัมพันธ์กับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในสนาม


งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง



แหล่งอ้างอิง

การศึกษาความวิตกกังวลและความเชื่อมั่นในตนเอง (ku.ac.th)
แรงจูงใจในการเล่นกีฬาของนักกีฬาคนพิการทีมชาติไทย (kku.ac.th)
 

 

             

พรบ.คอมพิวเตอร์ 2560

พรบ.คอมพิวเตอร์ ปี 2560
พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ 
    คือพระราชบัญญัติที่ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นพ.ร.บ.ที่ตั้งขึ้นมาเพื่อป้องกันควบคุมการกระทำผิดที่จะเกิดขึ้นได้จากการใช้คอมพิวเตอร์หากใครกระทำความผิดตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์นี้ก็จะต้องได้รับการลงโทษตามที่พ.ร.บ.กำหนด   สิ่งที่กระทำแล้วผิดกฎหมายพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ 
1. เข้าถึงระบบ หรือข้อมูลของผู้อื่นโดยไม่ชอบ (มาตรา 5-8) 
2. แก้ไข ดัดแปลง หรือทำให้ข้อมูลผู้อื่นเสียหาย (มาตรา 9-10) 
3. ส่งข้อมูลหรืออีเมลก่อกวนผู้อื่น หรือส่งอีเมลสแปม (มาตรา 11) 
4. เข้าถึงระบบ หรือข้อมูลทางด้านความมั่นคงโดยมิชอบ (มาตรา 12) 
5. จำหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคำสั่งเพื่อนำไปใช้กระทำความผิด (มาตรา 13) 
6. นำข้อมูลที่ผิดพ.ร.บ.เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ (มาตรา 14) 
7. ให้ความร่วมมือ ยินยอม รู้เห็นเป็นใจกับผู้ร่วมกระทำความผิด (มาตรา 15) 
8. ตัดต่อ เติม หรือดัดแปลงภาพ (มาตรา 16)
อ่านเพิ่มเติม คลิก

Blog???

Blog คืออะไร ???
Blogger (บล็อกเกอร์) ก็คือเว็บไซต์หนึ่งที่ผู้ใช้สามารถเข้าสร้างสรรค์เว็บไซต์ให้เป็นรูปแบบของเราได้ เข้าใช้งานโดยใช้ Gmail ผู้ใช้ก็สามารถที่จะเพิ่มเนื้อหาข้อความบนบล๊อกของตัวเองได้คล้ายๆ กับเป็น ไดอารี ออนไลน์ สามารถที่จะบันทึกข้อมูล วิดีโอ รูปภาพ ลิ้งค์ และจัดการกับข้อมูลให้เป็นเหมือนเว็บไซต์หนึ่ง โดยบล๊อกเกอร์จะมีในส่วนของหน้าบ้านและหลังบ้านเพื่อการจัดการเนื้อหาได้สะดวก อ่านเพิ่มเติมที่นี้

วิธีสร้าง Blog
ขั้นตอนที่ 1
     เข้าไปที่เว็บ http://www.blogger.com จะขึ้นหน้าจอตามรูป


ขั้นตอนที่ 2
     จากนั้นทำการสมัคร (สำหรับบุคคลที่ยังไม่มี Gmail ) ถ้ามีแล้วให้ล๊อกอินได้เลย


ขั้นตอนที่ 3
     ให้กรอกข้อมูลตามความเป็นจริง


ขั้นตอนที่ 4
     คลิกที่ปุ่มสร้างบล๊อกใหม่ตามรูป



ขั้นตอนที่ 5
     พอคลิกแล้วจะขึ้นตามรูปนะครับ    จากนั้นให้กรอกข้อมูลลงไปครับ      เลือกแม่แบบตามใจชอบได้เลย


ขั้นตอนที่ 6
    คลิกปุ่มตามรูปเลย


ขั้นคอนที่ 7
    ใส่ข้อมูลต่างๆเลย


ขั้นตอนที่ 8
     คลิกปุ่ม "แสดงตัวอย่าง" ถ้าชอบแล้วกดบันทึกได้เลย

วิดีโอสร้าง blogger เบื่องต้น

My First Blog

เราเอง
ชื่อ-สกุล : นายศุภวิชญ์ วิภูสุววรรณ์
ชื่อเล่น : แฟรงค์
อายุ : 17
วันเกิด : 30/10/2546
ที่อยู่ : อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 
ระดับชั้น : มัธยมศึกษาปีที่ 6/5
โรงเรียน : โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย

เพื่อนเอง
" รูปกับเพื่อนๆกีฬาสี ม.2 "
" รูปกับเพื่อนๆก่อนจบ ม.5 "

รูปที่เราชอบ
เป็นภาพที่ดูสับสนดีแล้วก็มีเทคนิคเต็มไปหมด


วิดีโอที่เราชอบ
ช่องดีๆที่คุณคู่ควร

1.โค้ชผู้ฝึกสอนกีฬา
เป็นผู้ที่ให้การส่งเสริม สนับสนุนให้บุคคลใช้ความรู้และทักษะที่เขามีอยู่แล้วได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

2.นักวิทยาศาสตร์การกีฬา
เป็นอาชีพที่ช่วยดูแลนักกีฬาและทำงานร่วมกับโค้ช โดยใช้หลักวิชาการที่ได้เรียนมาดูแลนักกีฬาในทุกด้าน ทั้งโภชนาการ เทคนิคกีฬา จิตวิทยา ตลอดจนการดูแลสุขภาพร่างกายนักกีฬาอย่างเป็นขั้นตอน

เพลงที่ชอบ





Blog คืออะไร ??? Blogger  (บล็อกเกอร์) ก็คือเว็บไซต์หนึ่งที่ผู้ใช้สามารถเข้าสร้างสรรค์เว็บไซต์ให้เป็นรูปแบบของเราได้ เข้าใช้งานโดยใช้ Gmail ...